บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคไตมีอาการอย่างไร


โรคไตมีอาการอย่างไร

        เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้น ควรทำความรู้จักกับไตก่อน



ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ

 
1.ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
 
2.รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
3.ควบคุมความดันโลหิต
 
4.สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก
ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ

 
1.โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS)
 
2.โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง (INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน
 
3.โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ
 
4.โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น
 
5.โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
 
6.เนื้องอกในไต
 
7.โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง
ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

 
1.ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้
 
2.ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน (เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้
อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต

 
1.ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
 
2.มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ)
 
3.อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า
 
4.อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน คืแท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง
 
5.ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
 
6.อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว
การล้างไต

ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย

ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต

 
1.ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
 
2.มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย
 
3.มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง
 
4.มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ
 
5.มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา
 
6.มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา

 
  แหล่งข้อมูล : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม - province.moph.go.th/nakhonpathom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น