บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สาเหตุการเกิดฝ้า

 สาเหตุการเกิดฝ้า

วิธีป้องกัน และการรักษา

     ฝ้ามักขึ้นบริเวณใบหน้า มีลักษณะสีน้ำตาลอมดำ อาจมีขนาดแตกต่างกัน มีตั้งแต่เป็นหย่อมเล็ก ๆ จนกระทั่งขนาดใหญ่ บริเวณที่มักเกิดฝ้ามากที่สุด คือ โหนกแก้ม สันจมูก และอาจเกิดที่หน้าฝาก โดยทั่วไปฝ้าจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ ฝ้ามักจะเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่ถูกแดด ควรระวังไม่ให้ถูกแดดซ้ำ



 ชนิดของ ฝ้า

 ฝ้า แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด ตามความลึกของการเกิดฝ้า คือฝ้าแบบตื้น และฝ้าแบบลึก

       ฝ้าแบบตื้น จะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) มักมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลขอบชัด เกิดได้ง่าย และสามารถรักษาให้หายได้เร็ว นอกจากนี้ฝ้าชนิดนี้ยังรักษาโดยการใช้ยาทาฝ้าอ่อนๆ และ ครีมกันแดด ก็สามารถลบเลือนให้หายได้

       ฝ้าแบบลึก จะมีอาการผิดปกติ อยู่ในชั้นที่ลึกกว่าชนิดแรก โดยจะเกิดฝ้าในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า จะเกิดความผิดปกติในระดับชั้นผิวหนังแท้ มีลักษณะเป็นสีม่วงๆ อมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัด รักษาได้ยากกว่าฝ้าชนิดตื้น และไม่ค่อยหายขาด การใช้ยาทาฝ้าอ่อนๆ และ ครีมกันแดด เพียงแต่ช่วยให้ดีขึ้นเท่านั้น

บางคนก็เป็นฝ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง ๒ ชนิดพร้อมกันก็ได้

 สาเหตุของการเกิดฝ้า

      ฝ้าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน มีผลทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีในชั้นผิวหนัง ปัจจัยเหล่านี้อาจได้แก่

         แสงแดด เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แสงอัลตราไวโอเลตทั้ง เอ และ รวมทั้งแสงvisible light เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือ ทำให้เป็นฝ้าได้มากขึ้น แสงอุลตราไวโอเลต จะมีมากในช่วงเวลา 10.00-14.00 น. แสงแดดในช่วงนี้มีผลทำให้ ผิวหนังเกิดการไหม้เกรียม และเกิดฝ้าได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดในช่วงเวลา ดังกล่าว

        ฮอร์โมน ด้วยอิทธิพลของ ฮอร์โมน จะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย (เช่น การตั้งครรภ์, วัยหมดประจำเดือน) หรือได้รับ ฮอร์โมน จากภายนอกร่างกาย (เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด, การใช้ เครื่องสำอาง บางชนิดที่มี ฮอร์โมน ผสมอยู่) จึงมักพบผู้ที่เป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ หรือ รับประทานยาคุมกำเนิดได้บ่อย

      ยา พบว่าผู้ที่รับประทานยากันชักบางชนิด มักเกิดผื่นดำคล้ายรอยฝ้าที่บริเวณใบหน้า จึงเชื่อว่ายานี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า

เครื่องสำอาง การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นพวกสารให้กลิ่นหอม หรือ สี

พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีรายงานว่าเป็นในครอบครัวได้ถึง ร้อยละ30-50

ภาวะทุพโภชนาการ อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบผื่นแบบฝ้า ในผู้ที่มีหน้าที่การทำงานของตับผิดปกติ และ ผู้ที่ขาดวิตามินบี12


การป้องกันและรักษาฝ้า

 เมื่อทราบถึงสาเหตุการเกิดฝ้าแล้ว เราควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่จะก่อให้เกิดฝ้าดังนี้

ควรหลีกเลี่ยงจากแสงแดด ความร้อน โดยใช้สิ่งกำบังหรือป้องกัน เช่น ร่ม หมวก ผ้า คลุมหน้า เป็นต้น กรณีสงสัยว่ายาคุมกำเนิดที่รับประทานอยู่เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดฝ้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร

ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ ผ่องใส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ไม่เครียดหรือ วิตกกังวล เพราะอาจเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้

ควรทดสอบเครื่องสำอางก่อนใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดอาการแพ้ เมื่อใช้ เครื่องสำอางนั้นสำหรับการรักษาฝ้า ถ้ามีฝ้าขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากถูกแสงแดด ควรระวังและหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกแสงแดดซ้ำอีก จะช่วยให้ฝ้าจางหายไปได้ ในกรณีที่เป็นมาก ไม่ควร ใช้ยาหรือเครื่องสำอางด้วยตนเอง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ถ้าเป็นไม่มาก อาจใช้เครื่องสำอางสำ หรับฝ้าได้ แต่จะ ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และต้องใช้ให้ถูกวิธี

 คำถามเกี่ยวกับฝ้า
ถาม: ฝ้า รักษาหายได้หรือไม่?

ตอบ: ผลการรักษาฝ้าขึ้นกับ สาเหตุและชนิดของฝ้า ฝ้าที่เกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือ ยากันชัก ถ้าหยุดยาฝ้า จะค่อย ๆ จางหายไป เช่นเดียวกับฝ้าที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์ แต่บางรายอาจหายไม่หมด เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดฝ้าได้ ฝ้าชนิดลึก จะรักษายากกว่าฝ้าชนิดตื้น การหลีกเลี่ยงแสงแดด ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ฝ้าหายเร็วขึ้น

 ถาม: ทาครีมทาฝ้าทั่วใบหน้าได้หรือไม่?

ตอบ: ครีมทาฝ้า เป็นครีมที่เหมาะกับการรักษาเฉพาะจุดที่เป็นฝ้า มีการออกฤทธิ์กับผิวหนัง โดยการย่อยเซลล์ที่ตายแล้ว และผลัดเซลล์นั้นออกจากชั้นผิวหนัง หากเรานำครีมทาฝ้าไปทาที่ผิวหนังบริเวณอื่นที่ไม่ได้เป็นฝ้า ครีมจะเข้าไปทำการย่อยเซลล์ที่สมบูรณ์ของเราออกไปโดยไม่จำเป็น ซึ่งผิวหนังที่สมบูรณ์จะมีชั้นผิวที่บางกว่าเซลล์ที่ตายแล้ว อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นระคายเคืองได้ จึงควรทาครีมเฉพาะบริเวณที่มีฝ้าเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น