ตาบอดสีมีอาการอย่างไร
ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร
ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด
ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระ ดับที่พอ ๆ กัน ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะ ทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นในที่สลัว ๆ เราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้ แต่ยังพอบอก รูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานในเซลของกลุ่มแรกอยู่ เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้นเราจึงมองเห็นสีต่าง ๆ ขึ้นมา
ประเภทของตาบอดสี
โรคตาบอดสี พบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มที่เป็นตั้งแต่ กำเนิด (congenital color vision defects) กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่ กำเนิดตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ ปกติจะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณ เม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย ส่วนความผิดปกติของ เม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย
กลุ่มที่เป็นภายหลัง (acquired color vision defects) มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือ โรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควร จะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้
ซึ่งมักพบ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลังเมื่อพิจารณาในกลุ่ม ที่ เป็นตั้งแต่เกิด กลุ่มย่อยที่พบได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มที่บอดสีเขียว-แดง ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8% ใน ผู้ชาย และพบเพียง 0.5% ในผู้หญิง (ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าเยอะนะครับ) ส่วนในกลุ่มที่เป็นภายหลัง มักพบเป็นการบอด สีน้ำเงิน - เหลือง และพบได้พอๆกันทั้งชายและหญิง ซึ่งจำนวนคนที่เป็น ในกลุ่มนี้น้อยกว่ากลุ่มที่เป็นแต่กำเนิดมาก
สาเหตุการเกิดตาบอดสี
ตาบอดสี (Clor blindness)เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่าง ๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ ตาบอดสี มีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ ตาบอดสีที่มองสีเขียว กับสีแดงไม่เห็น (Red – Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่น ๆ ได้ ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนจะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด
ภาพแสดงถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม
การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป
ตาบอดสีมีหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า red/green colour blindness โดยจะแยก สีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบากโดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอด สีคือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินกับสีเหลือง จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลยแต่ เป็น ส่วนน้อยมาก คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสี ชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสี ไม่ปกติเท่านั้นเอง
กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักเกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตาเส้นประ สาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุเนื้อ งอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี
ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดยมากพบความผิดปกติของการมอง สี น้ำเงินเหลือง มากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่น ๆ เช่น การมอง เห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค
การรักษาเมื่อตาบอดสี
ในรายที่เป็นไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนในรายที่เป็นรุน แรงผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็กอย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการรัก ษา เฉพาะถ้าเป็นแล้ว จะเป็นตลอดชีวิต โดยเฉพาะแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล
ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไป ให้รีบมารับการตรวจรักษาอาจป้องกันไม่ให้ เกิดความผิดปกติถาวรได้
คำแนะนำบางประการ
ในผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม และโอกาสหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในหมู่ญาติ
ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุเพื่อ แพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การที่คนใดคนหนึ่งเกิดตาบอดสีขึ้นคน ๆ นี้ก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้ อย่างปกติเหมือนคนปกติทั่ว ๆ ไปได้เพียงแต่การแปรผลผิดไป จากความจริง เท่านั้น ถ้าตาบอดสีไม่มากนักสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทั้งนี้ควร ปรึก ษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะตรวจเช็คสายตาและให้คำแนะนำในการปรับตัว ตลอดจน แนวทางในการ รักษาต่อไป
บางครั้งคนตาบอดสี อาจถูกกีดกันจากสถาบัน หรืออาชีพบางประเภทซึ่งจริง ๆ แล้วคนที่ตาบอดสี เพียงแต่เห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง ไม่ใช่มองไม่เห็นสีเลย
คนที่ตาบอดสีส่วนใหญ่เรียกสีถูกบอกความแตกต่างของไฟจราจรได้ และก็ ทำงานส่วนใหญ่ได้เหมือนคนปกติ เว้นเสียแต่จะมีสีในบางแถบสีที่ทำให้ เขาสับสน
ในแบบทดสอบอาจจะมีการออกแบบสีในช่วงของแถบสีที่ทำให้คน ตาบอดสีดูสับสน ซึ่งโดยปกติในชีวิตประจำวันคนตาบอดสีจะพบสีดังกล่าว น้อยมาก
อาชีพที่คนตาบอดสีไม่ควรทำ ได้แก่ นักเคมีที่ต้องทำงานกับสี จิตรกร อาชีพที่ต้องมีการใช้สีเป็น ตัวแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น ในอุปกรณ์อิเลคโทรนิค ห้องนักบิน เป็นต้น
พบว่าคนตาบอดสีมีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ได้ดีกว่าคนปกติ เช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อนเขียวอมเหลือง
ปัจจุบัน ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีอนุโลมให้ขับรถได้ แต่ต้องผ่านการทดสอบความสามารถในการบอกสี ของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้อง เพราะผู้เป็นโรคตาบอดสีจะทราบว่า ตนเองบอดสีอะไรหรือต้องสามารถแยกได้ว่าตำแหน่งใด เป็นสัญญาณ ไฟสีแดง สีเหลือง หรือสีเขียว หากแยกสีเหล่านี้ได้ถูกต้องก็สามารถ ปฏิบัติตามกฎจราจรได้ หากผู้ป่วยเป็นมากโดยบอดสีเหล่านี้ทั้งหมด และไม่สามารถแยกสีได้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถเพราะจะทำให้เกิด อันตรายได้
ปัจจุบันนี้ยังมีความเข้าใจผิดในเรื่องตาบอดสีทำให้คนตาบอด สีถูกห้ามไม่ให้ขับรถ หรือทำงานในบางหน่วยงานหรือเรียนหนังสือ ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ตาบอดสีเพียงแต่เห็นสีผิดไปจากสีที่เป็น จริงไม่ใช่มองไม่เห็นสีเลยเราพบว่าคนที่ ตาบอดสีส่วนใหญ่เรียกสีถูก บอกความแตกต่าง ของไฟจราจรได้และก็ทำงานส่วน ใหญ่ได้เหมือนคน ปกติเว้นเสียแต่จะมีสีใน บางแถบสีที่ทำให้เขาสับสนในแบบทดสอบ จะมีการออกแบบสีในช่วงของแถบสีที่ทำ ให้คนตาบอดสีดูสับสนซึ่งโดยโดยปกติในชีวิตประจำวัน คนตาบอดสีจะพบสี ดังกล่าวน้อยมากใน หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา ก็เคยมีปัญหา ในลักษณะดังกล่าว ซึ่งหลังจากมีการรณรงค์โดยจักษุแพทย์กลุ่มหนึ่งมหาวิทยา ลัยต่าง ๆ จึงยอมรับเด็กเหล่านี้เข้า เรียนได้
อย่างไรก็ตาม มีอาชีพที่คนตาบอดสีไม่ควรทำได้แก่ อาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการแยกแยะสี เป็นสำคัญ เช่น นักเคมีที่ต้องทำงานกับสี, จิตรกร, พนักงานตรวจคุณภาพสินค้า (QC), ฯลฯ นอกจากนี้ อาชีพที่ไม่ควรรับคนตาบอดสีทำงานก็คือ อาชีพที่ต้องมีการใช้สีเป็นตัวแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น ในอุปกรณ์ อิเลคโทรนิค, นักบิน, นักเดินเรือ เป็นต้น
นอกจากนี้พบว่า ตาบอดสีไม่ใช่จะมีแต่ข้อเสียเท่านั้น เราพบว่าคนตาบอดสีสับสนในเรื่องของสี แต่มีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ ดีกว่าคนปกติ เช่น คนตา บอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลืองได้ดี ในบางประเทศ เช่น อิสราเอลมีการรับ คนที่ตาบอดสีเข้าประจำในกองทัพบก เพราะคนเหล่านี้จะมองเห็นรถถังที่ทาสี พรางตัวอยู่ในภูมิประเทศ ได้ดีกว่าคน ธรรมดา
ที่มา http://www.thaigoodview.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น