บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรคภูมิเเพ้เกิดจากอะไร


โรคภูมิเเพ้เกิดจากอะไร

โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการ ภูมิแพ้ (Allergen) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป
โรคภูมิแพ้มักจะเกิดกับใคร
โรคภูมิแพ้เกิด ได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ “สิ่งกระตุ้น” มานานเพียงพอ อย่างไรก็บางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้
โรคภูมแพ้เกิดขึ้นได้จากสิ่งใด
โรคภูมิแพ้นั้น มิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน

สิ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
ตัวการที่ทำให้ เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่ง อาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
อวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้เกิดจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้

1.โรคภูมิแพ้ติดต่อทางลมหายใจ
ถ้าสิ่งกระตุ้น ผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด
2.โรคภูมิแพ้ติดต่อทางผิวหนัง
ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
3.โรคภูมิแพ้ติดต่อทางอาหาร
ถ้าสิ่งกระตุ้น เข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่นๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม
4.โรคภูมิแพ้ติดต่อทางตา
ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล
สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆ ไปที่พบได้ทั่วไปได้แก่

สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น “ตัวการ” ของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
1. ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
2. เชื้อรา มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
3. อาหารบางประเภท อาหารบางอย่างจะเป็น ตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบได้บ่อยคือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้บ่อยๆ เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออกเป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารประเภทหมัก ดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ดซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใจ สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่นๆ
4. ยาแก้อักเสบ ยาที่ทำให้เกิดอาการ แพ้ได้บ่อยๆ นั้นได้แก่ ยาปฎิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันจองผิวหน้า พวกเซรุ่มหรือวัคซีนเป็นกันโรคโดยเฉพาะวัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น
5. แมลงต่างๆ แมลงที่มักอาศัยอยู่ ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น
6. เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ตอกข้าว วัชพืช สิ่ง เหล่านี้มักปลิว อยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกลๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม
7. ขนสัตว์ ขนของสัตว์เลี้ยงเป็น ต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าง ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้ยัดที่นอนและหมอน สำหรับนุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าว เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกันครับ
การสอบประวัติและวิเคราะห์โรคภูมแพ้
แพทย์จะทำการสอบถาม ประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก เพื่อเป็นแนวทางที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีอาการ ณ สถานที่ใดได้บ้าง

จะทดสอบโรคภูมิแพ้ทางใดบ้าง
1. ทดสอบทางผิวหนัง
แพทย์จึงใช้วิธี ทดสอบทางผิวหนัง (Skin Tests) ซึ่งวิธีนี้จะนำเอาน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้ทางอ้อม โดยนำน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขนซึ่งทำความ สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำ สกัดนั้นมาจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยๆ เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อราในบรรยากาศ แมลงต่างๆ ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง เกสรดอกไม้ และอื่นๆ เมื่อหยอดน้ำสกัดบนท้องแขนแล้ว ใช้ปลายเข็มที่สะอาดกดลงบนผิวหนังเพื่อให้น้ำยาซึมซับลงไป แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตุ่มใดที่ผู้ป่วยแพ้ ก็จะเป็นรอยนูนคล้ายรอยยุงกัด แพทย์จะทำการวัดรอยนูนและรอยแดงของแต่ละตุ่มที่ปรากฏซึ่งทำให้ทราบได้ทันที ว่าเจ้าตัวเล็กแพ้สารใดบ้าง ตุ่มใดที่ไม่แพ้ก็จะไม่มีรอยนูนแดง สำหรับวิธีทดสอบทางผิวหนังทำได้ตั้งแต่เจ้าตัวเล็กอายุได้ไม่กี่เดือนจนถึง เป็นผู้ใหญ่
2. การทดสอบโดยการเจาะเลือดดูรายละเอียดด้านวิธีการทดสอบ
หมายเหตุโรคภูิมิแพ้นิดนึงครับ
ก่อนที่ผู้ป่วยจะ ทำการทดสอบ ต้องหยุดรับประทานยาแก้แพ้จำพวกยาด้านฮิสตามีนก่อนการทดสอบอย่างน้อย 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นฤทธิ์ยาแก้แพ้จะไปบดบัง ทำให้หาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่พบ
มาดูวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้กันเถอะ
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้น ได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบ โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุของโรคและสามารถรักษาให้หาย ได้ ผู้ ป่วยบางคนเริ่มจากอาการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้ใส่ใจรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นโรคหอบหืด โรคผื่นคันผิวหนัง เช่น เป็นลมพิษ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคอ่อนเพลียต่างๆ เป็นต้น
ความเชื่อผิด ๆ ที่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
บาง คนเชื่อว่า ถ้าเด็กเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เล็กพอโตขึ้นอาจหายไปเองได้ และไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก จำเป็นต้องรักษา
เพราะโรคนี้อาจทำ ให้เค้าเจริญเติบโตช้า การปรับตัวเข้ากับสังคมเพื่อนๆ และสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี เกิดปมด้อย เจ้าตัวเล็กอาจขาดความมั่นใน ส่วนเด็กที่แพ้อากาศ ถ้าไม่รักษาต่อมาก็อาจกลายเป็นโรคหอบหืดที่มีอาการของโรคแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้ครับ
ฐานะพ่อ แม่ จำจัดการอย่างไร กับโรคภูมิแพ้
หากคุณพ่อคุณแม่ สงสัยว่าเจ้าตัวเล็กนั้นเป็นโรคภูมิแพ้ คุณควรจะนำเค้าไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาว่าเค้าแพ้อะไรบ้าง การดูแลรักษาเค้าในเบื้องต้นนั้นทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสารที่เค้าแพ้ ครับ ซึ่งจะทำให้อาการของโรคนั้นลดลงหรือหมดไปได้ครับ
ยารักษาโรคภูมิแพ้
ปัจจุบันยารักษา โรคภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั้นมีหลายประเภท ทั้งยารับประทาน ยาสูดเข้าหลอดลม ยาพ่นจมูก ยาหยอดตา และยาทาผิวหนัง
เราลองมาหาต้นเหตุและวิธีการหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดพวกอาการแพ้
หาต้นเหตุและหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ ทีดีที่สุดคือการค้นหาสาเหตุของการแพ้นั้นให้พบ เช่น การสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก ตรวจร่างกายและทดสอบทางผิวหนัง เมื่อทราบว่าแพ้สารใดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารที่ให้เกิดภูมิแพ้ที่ถูกต้องและอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะ ทุเลา
ในทางปฏิบัตินั้น การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะ ชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบๆ ตัว เช่นฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำ เป็นและได้มักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแพ้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น
เวรกรรม…หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ก็ทำได้ยากแล้ว แล้วจะรักษาอย่างไรกันดีหนอ…
ฉีดวัคซีนให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน
มี วิธีการรักษาโรค ภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมา ผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ (อิมมู โนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค
ต่อมาเราก็รู้หลักการเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ไปมากคราวนี้เรามารู้จัก การทดสอบภูมิแพ้และการรักษาโรคภูมิแพ้ (Allergic Test and Treatment)
เมื่อไรจึงจะต้องทดสอบภูมิแพ้?
เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ เป็นหวัดง่ายหายยาก แพ้อาหารทุกชนิด แพ้ยา หรือมีผื่นคันเพื่อให้ทราบว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงสารนั้นๆ เพื่อนำสารนั้นๆมาทำวัคซีนภูมิแพ้
ก่อนมาทดสอบภูมิแพ้ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
1. ควรงดยาแก้แพ้ แก้คัน ยาลดน้ำมูก ยาเสริมภูมิ ยารักษาภูมิแพ้ และยาต้านโรคซึมเศร้าบางตัว 7 วันก่อนมาตรวจ ควรเป็นช่วงที่หายจากอาการหอบหืด ไม่มีไข้ หรือผื่นทั่วตัว และอาการป่วยหนักอื่นๆ ประมาณ 7 วัน
2. ควรใส่เสื้อที่พับแขนเสื้อได้หรือเป็นเสื้อแขนสั้น
3. ควรมีอายุมากกว่า 2 ปี (หากมีอาการแพ้มากอาจทดสอบก่อนอายุ 2 ปีได้)
แบ่งการทดสอบภูมิแพ้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆคือ
1. การทดสอบในร่างกาย (INVIVO TEST) เป็นการนำสารมาทดสอบกับร่างกายเรา แบ่งย่อยๆได้ดังนี้
ทดสอบทางผิวหนัง (Skin Test) จากการศึกษาจำนวนมากสรุปได้ว่าวิธีสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test) จะสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้และอาการป่วยดีกว่าวิธีอื่นๆ ใช้เวลาเพียง 15-30 นาที สามารถทำได้ครั้งละหลายชนิด ราคาไม่แพง (ประมาณ 1600 บาท/12สาร/ครั้ง)
ทดสอบโดยการท้าทาย (Challenge Test) เป็นการนำสารมาในปริมาณเพียงเล็กน้อยตามที่คำนวณได้ มาทดสอบโดยการรับประทาน ฉีด หรือทา แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณ แต่จะต้องทำในโรงพยาบาลและมีผู้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
2. ทดสอบนอกร่างกาย (IN VITRO TEST) เช่นการเจาะเลือดไปตรวจ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดยาได้แต่ราคาแพงมาก ใช้เวลานาน เสียเลือดเจ็บและตัวมาก ส่วนผลไม่ไวเท่าวิธีแรก
ควรจะฉีดวัคซีนโรคภูมิแพ้เมื่อไร?
เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วอาการไม่ดีขึ้น ดีขึ้นไม่มาก หรืออาการทรุดหนัก หรือมีอาการร่วหลายระบบเช่น หอบหืด และแพ้อากาศต้องการสร้างภูมิด้วยตัวเองและเปลี่ยนแปลงการดำเนินโรคได้ไม่อยากใช้ยาหลายตัวหรือใช้ยานานๆ
ผลข้างเคียงของวัคซีนภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปจะมีอาการเจ็บๆคันๆเป็นเม็ดคล้ายๆลมพิษเล็กๆบริเวณที่ฉีด แต่ในบางรายหากป่วยหนัก พักผ่อนน้อยหรือมีอาการหอบหืดอยู่ อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เช่น ลมพิษทั้งตัว บวมในคอ หายใจดังหวี๊ด เป็นลมหรือช๊อค ซึ่งพบได้น้อยมาก(ในประสบการณ์ของผู้เขียนไม่เคยพบเลย เนื่องจากทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยก่อนฉีดวัคซีนภูมิแพ้ก่อนทุกครั้ง)
แจกก่อนปิดท้ายครับ 20 วิธีพิชิตโรคภูมิแพ้
หาก อาการน้ำมูกไหล จมูกฟึดฟัด จาม และคันจากโรคภูมิแพ้เป็นหนักทำให้คุณต้องชื้อกระดาษทิชชูมาตุนไว้เต็มบ้าน เพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้คุณน่าจะหันมาปรับเปลี่ยนร่างกายให้ทำสงครามตอบ โต้การโจมตีจากโรคภูมิแพ้ที่ทำเอาคุณย่ำแย่มานานปีเสียที จะได้จบสิ้นอาการที่น่ารำคาญลงได้ ภาวะภูมิแพ้อาจไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน 20 วิธีต่อไปนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ป้องกันตัวเองจากโรคนี้

1. เลือกกินเนื้อไก่แทนเนื้อวัว ผลงานวิจัยโครงการ 2 ปี ที่ศึกษาผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหวัดแพ้อากาศ 334 ราย และผู้ที่ปกติดี 1,336 ราย พบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันแปรรูปทรานส์โอเลอิก (รูปแบบหนึ่งของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว) ในอาหารโดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวปริมาณสูงสุด มีแนวโน้มเป็นโรคหวัดแพ้อากาศมากเป็น 3 เท่าของผู้ที่ได้รับกรดไขมันดังกล่าวในปริมาณต่ำสุด โชคยังดีที่น้ำมันมะกอกแม้จะมีกรดโอเลอิกอยู่มากแต่ก็ไม่ได้อยู่ในรูปของ ไขมันแปรรูปหรือ ไขมันทรานส์
2. กินน้ำมันปลาหนึ่งเม็ดเป็นอาหารเสริมทุกเช้าหลังแปรงฟัน การศึกษาผู้ที่เป็นโรคหอบหืดชนิดเกิดจากภูมิแพ้ พบว่าผู้ที่กินน้ำมันปลาเป็นประจำทุกวันนาน 1 เดือนจะมีระดับลูไคไทรอีนส์ซึ่งเป็นสารเคมีที่ก่อเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ลดลง
3. เปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะ ไม่เพียงช่วยขจัดความชื้อซึ่งอาจก่อเชื้อรา แต่ยังกรองสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้ามาในบ้าน หมั่นทำความสะอาดหรือเปลี่ยนที่กรองบ่อยๆ มิฉะนั้นอาจกลับทำให้แย่ลงได้
4. กินกีวี1 ผลทุกเช้า วิตามินซีในผลกีวีเป็นสรต้านฮิสตามีนตามธรรมชาติ การศึกษาบางชิ้นพบว่าการมีระดับวิตามินซีต่ำมักทำให้เกิดภูมิแพ้ จึงควรกินวิตามันซีเสริมทันทีเมื่อมีอาการกำเริบ เราอาจเลือกผลไม้อื่นที่มีวิตามินซีสูงเช่น มะขามป้อม
5. ทำความสะอาดเครื่องเรือนและพรมด้วยเครื่องดูดฝุ่นไอน้ำ เติมสารละลายไดโซเดียมออกตาบอเรตเตตร้าไฮเดรต หรือ ดีโอที ซึ่งได้จากธาตุโบรอนลงในน้ำด้วย วารสารAllergy ฉบับปี 2547 ตีพิมพ์ผลการศึกษาหนึ่งว่า สารดีโอทีช่วยลดปริมาณตัวไรฝุ่นและลดสารภูมิแพ้จากไรฝุ่นลงในระดับที่ปลอด ปฏิกิริยาต่อร่างกายได้นาน 6 เดือน
6. กินเคอร์ซิทินขนาด 250 มก. วันละ 3 เม็ด สารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติชนิดนี้นับเป็นฟลาโวนอยด์ หรือสารจากพืชที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบ เป็นยาแก้โรคภูมิแพ้จากสารธรรมชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
7. หมั่นทำความสะอาดรางน้ำไม่ให้อุดตัน เพราะจะเป็นที่เติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นตัวทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบหนักขึ้น
8. เปิดพัดลมดูดอากาศขณะอาบน้ำหรือเปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ หลังการอาบน้ำ หมั่นดูแลห้องน้ำให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อรามีโอกาศเจริญเติบโต
9. ใช้น้ำร้อนล้างม่านกันส่วนอาบน้ำ และนำออกซักด้วยน้ำยาฟอกขาวทุกเดือน รวมถึงถอดฝักบัวอาบน้ำออกทำความสะอาดทุก 2-3 เดือน
10. เปิดหน้าต่างรับแสงแดดในฤดูหนาว แสงแดดธรรมชาติช่วยขับไล่ความชื้น ทำให้อากาศแห้ง ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อรา
11. ซักเครื่องนอนในน้ำร้อนทุกสัปดาห์ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดไรฝุ่นตัวจิ๋วที่น่ารำคาญ ซึ่งพิสมัยเตียงนอนของคุณมากกว่าเจ้าของเตียงเสียอีก
12. ตามไปดูที่ปลายช่องระบายอากาศของเครื่องอบผ้า ให้ แน่ใจว่ามันยื่นออกไปนอกบ้าน ในกระบวนการอบผ้าหลังการซักทุกครั้งจะมีความชื้นราว 20 ปอนด์เล็ดลอดออกไปอยู่ที่ไหนสักแห่ง ควรตามท่อไปดูว่าเชื้อราได้ก่อตัวอยู่ตรงบริเวณช่องระบายอากาศนั้นหรือไม่
13. ทำความสะอาดถาดรองน้ำใต้ตู้เย็นด้วยสารฟอกขาวแล้วโรยเกลือ การเติมเกลือลงไปช่วยลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
14. รดน้ำไม้กระถางแต่พอประมาณ อย่าลืมโรยก้อนกรวดบนหน้าดินในกระถางทุกใบเพื่อป้องกันไม่ให้สปอร์เชื้อราลอยฟุ้งขึ้นไปในอากาศ
15. ใช้เวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์จัดเก็บบ้านให้สะอาด โละ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่คุณไม่เคยใช้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทิ้งไป ย้ายอุปกรณ์กีฬาให้เข้าที่เข้าทาง ทำความสะอาดรองเท้าทุกคู่ เก็บใส่ถุงแขวนให้เป็นระเบียบ เมื่อทำเสร็จคุณจะมองเห็นพื้นตู้และฝาหลังตู้ได้อีกครั้ง ที่นี้ดูดฝุ่นทุกสิ่งทุกอย่างให้สะอาด ปริมาณฝุ่นในบ้านจะลดลงมากทีเดียว
16. ปิดประตูห้องนอนไม่ให้สุนัขและแมวเข้ามาได้ วิธีนี้ช่วยลดรังแคหรือสะเก็ดผิวหนังแมวและสุนัขที่หลายคนมีอาการแพ้ได้ดี
17. เลือกพรมเช็ดเท้าชนิดที่ทำจากสารสังเคราะห์ พรมเช็ดเท้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ(พวกเครื่องจักรสาน) อาจเปื่อยหรือผุจนกลายเป็นแหล่งอาหารของเห็บหมัด หรือเชื้อรา จนกระทั่งมันมาสถิตย์อยู่ในบ้าน จึงควรซักล้างพรมเช็ดเท้าทุกอาทิตย์ฃ
18. ทำความสะอาดเศษแมลวที่ค้างอยู่ที่ระเบียงหรือซุ้มประตูทางเข้าบ้าน เมื่อเศษแมลงย่อยสลาย มันจะกลายเป็นแหล่งสารก่อภูมิแพ้เลยทีเดียว
19. ทำชั้นวางรองเท้าไว้หน้าบ้าน และถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น เชื้อราและสารก่อภูมิแพ้อื่นๆที่อาจติดเข้ามา
20. อ่านฉลากให้ดี หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารเติมแต่งชนิดโมโนโซเดียมเบนโซเอต มีกรณีศึกษาของอิตาลีพบว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคล้ายอาการ ภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล จาม แน่นจมูก ในกลุ่มผู้ที่ได้ได้เป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน นอกจากนี้ยังมักพบสารกันบูดในน้ำส้มคั้น ใส้ขนมพาย อาหารดอง มะกอก และน้ำสลัดอีกด้วย
จบไปแล้วนะครับการปัญหาของโรคภูมิแพ้ พบกันใหม่คราวหน้านะครับขอบคุณข้อมูลที่ดีจาก
1.คลังปัญญา 2.โรงพยาบาลมิชชั่น 3.นํ้าใสดอทคอม 4.perfectly-healthดอทคอม ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
คะแนนความนิยม: 15%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น