บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาเบาหวาน กระเทียม กระถิน ลูกเดือย


สมุนไพรรักษาเบาหวาน กระเทียม กระถิน ลูกเดือย

รายชื่อสมุนไพรที่มีรายงานวิทยาศาสตร์ว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมีดังนี้ (การศึกษาในสัตว์ทดลอง)

1. กระถิน (Leucaena leucocephala) Family Mimosaceae ผงจากเมล็ดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือดของหนุขาว แต่เมล็ดมีสาร minosine ที่เป็นอันตราย อาจต้องทดลองพิษวิทยาก่อนนำมาใช้
2. กระเทียม (Allium sativum L.) Family Alliaceae มีสาร allicin ทำให้เกิดการเพิ่มอินซูลินและกลัยโคเจนที่ตับในกระต่ายและหนู สารสกัดด้วยอัลกอฮอล์(alcohol), ปิโตรเลียมอีเธอร์ (Petroleum ether), อีเธอร์(Ether) สามารถลดน้ำตาลในเลือดกระต่ายโดยมีความแรง 64.6, 60 และ 82.5 % ของ Tolbutamide
3.ข้าว (Oryza sativa) Family Gramineae
- ประชาชนในบางจังหวัดในภาคอิสานใช้ รากข้าวเหนียวรักษาโรคเบาหวาน
- Hikino H. และคณะ รายงานว่าสาร Oryzarans A, B, C และ D จากรากข้าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนูปกติเมื่อฉีดเข้าช่องท้อง ในส่วนรำข้าว มีสาร Oryzabrans A ลดน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานได้ด้วย
4. ช้าพลู (Piper samentosum) Family Piperaceae น้ำต้มช้าพลูทั้งต้น ขนาด 10 gm /kgBW ให้กระต่ายที่เป็นเบาหวานติดต่อกัน 4 wks สามารถลดน้ำตาลในเลือดกระต่ายเป็นเบาหวานได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยาTolutamide ซึ่งลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายปกติได้ดีกว่ากระต่ายที่เป็นเบาหวาน
5. ชิงช้าชาลี (Tinospora baenzigeri Forman) Family Menispermaceae สาร 1,2-substituted pirrolidines มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดกระต่าย และฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
6. ลูกเดือย (Coix lachrma-jobi L.var.mayuen Stapt) Family Gramineae เมล็ดมีสาร Coixans A, B และ C ลดน้ำตาลในเลือดหนูปกติ Coixan A มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนูเป็นเบาหวานได้
7. ตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voigt) Family Cucurbitaceae น้ำคั้นจากใบขนาด 20 ซซ./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดกระต่าย สารสกัดเถาแห้งด้วยน้ำ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนู มีการทดลองทางคลินิก ผู้ป่วยเบาหวานโดยให้รับประทานใบตำลึงวันละ 2 ครั้ง มีผลลดน้ำตาลได้
8. เตยหอม, ฝรั่ง, พริกชี้ฟ้า, มะระ, มะแว้งต้น, มะแว้งเครือ, ไมยราบ, ลูกใต้ใบ
สมุนไพรที่มีการศึกษาในคนแล้วมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
1. ว่านหางจระเข้ (Aloe barbadensis Mill.) Family Liliaceae
2. แมงลัก (Ocimum basillicuum Linn.f.var.citratum Back) Family Labiatae
3. หญ้าหนวดแมว (Orthosiphon grandiflorus Bolding) Family Labiatae
4. หอมใหญ่ (Allium cepa) Family Alliaceae
แนะนำว่าหากต้องการใช้สมุนไพรหรือการใช้ธรรมชาติบำบัด ควรควบคู่ไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบันและการปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง เช่น การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายค่ะ
จาก BangkokHealth

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น